FAQs รวมข้อสงสัยเรียนต่อยุโรปที่นี่ รวมคำถามเรื่องการเลือกประเทศ หลักสูตร สถาบัน ชีวิตนักศึกษาในยุโรป ค่าครองชีพ การสมัครเรียน การหาข้อมูลเรียนต่อ ฯลฯ
1. สามารถเรียนในประเทศยุโรปโดยไม่รู้ภาษาได้หรือไม่?
– ใช่ การรู้ภาษาประจำชาติไม่ใช่ข้อกำหนดในการสมัครเรียนหลักสูตรในประเทศนั้น
หลายประเทศเปิดหลักสูตรภาษาอังกฤษให้เรียนแล้ว ในหลากหลายสาขาวิชา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์
และสังคมศาสตร์บางสาขา เช่น กฎหมาย ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ลองเข้าไปดูในแคตาลอกของเรา เพื่อดูหลักสูตรที่เปิดสอนเป็นภาษาอังกฤษ
2. ฉันสามารถหางานทำระหว่างเรียนได้หรือไม่?
– แม้ว่าคุณอาจไม่สามารถหางานประจำได้ แต่ก็มีงานนอกเวลามากมายและโอกาสให้คุณได้สำรวจในขณะที่คุณศึกษาอยู่ เช่น วีซ่าเชนเก้นส์อนุญาตให้ทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย มากกว่าปีละ 960 ชั่วโมง นับว่านักศึกษาสามารถหารายได้เพื่อสนับสนุนค่าเรียนและค่าครองชีพของตัวเองได้สบายๆ
3. การลงทะเบียนเรียนในต่างประเทศขึ้นอยู่กับผลการเรียนที่โรงเรียนหรือไม่?
– มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการทดสอบหรือข้อกำหนดการรับเข้าศึกษาของตนเอง อย่างไรก็ตามปริญญาจากโรงเรียนไม่ได้เป็นหนึ่งในเกณฑ์การคัดเลือก เพราะระบบหน่วยกิตของประเทศอื่นๆ ไม่เหมือนของยุโรป เช่น หน่วยกิตของระบบการศึกษาในไทย ไม่สามารถเทียบโอนเป็นของยุโรป ETCs ได้โดยตรง ทั้งนี้มีแม้ว่าสถาบันต่างๆ จะไม่ได้ ดูผลการศึกษาที่เป็นตัวเลขหรือเกรดเฉลี่ย (GPA) โดยตรง แต่ก็มักจะตรวจสอบรายวิชาและชั่วโมงเรียนของผู้สมัครค่อนข้างละเอียด เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาการรับเข้าเรียน
4. การขอวีซ่ายุโรปยากไหม?
ด้วยเอกสารที่ถูกต้องและบันทึกที่สะอาด มีแผนการศึกษาชัดเจน แสดงความจริงจังและตั้งใจไปเรียนต่อและเป้าหมายในอนาคตที่ชัดเจน การขอวีซ่าสำหรับประเทศในยุโรปจึงไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าไม่มั่นใจ ให้ปรึกษาผู้มีประสบการณ์ อย่างเช่น เอเยนซี่แนะแนวเรียนต่อยุโรป
5. เรียนต่อยุโรป ใช้ชีวิตต่างประเทศมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่?
ประเด็นแรกคือเรื่องของค่าเล่าเรียน ถ้าคุณเรียนในสถาบันการศึกษาของรัฐบาลอาจะช่วยประหยัดค่าเล่าเรียนได้เยอะทีเดียวเพราะค่าเฉลี่ยทั่วไปค่าเล่าเรียนในประเทศยุโรปไม่ได้สูงมาก อาจอยู่ระหว่าง 2000-5000 ยูโร ต่อปี ขึ้นอยู่กับหลักสูตร สถาบัน และนโยบายสนับสนุนของประเทศนั้นๆ แต่สถาบันเอกชนอาจมีราคาระหว่าง 10000-18000 ยูโรต่อปี
ส่วนประเด็นต่อมาคือค่าครองชีพ การใช้ชีวิต ค่ากินอยู่ต่างๆ อันนี้จะแล้วแต่ประเทศและเมืองที่อาศัยอยู่ เช่น ถ้าเราอยู่เมืองใหญ่ๆ เมืองหลวงของประเทศนั้นๆ มักจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 800-1200 ยูโรต่อเดือน หรือประมาณ 25000 – 44000 บาท รวมค่าที่พัก(ซึ่งมักจะแพงมากๆในเมืองหลวง) อาหารการกิน การเดินทาง ประกันสุขภาพ การพักผ่อน ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่ามีเมืองใหญ่ซึ่งอาจจะมีค่าครองชีพที่แพงกว่านั้น และมีเมืองเล็กที่อาจจะถูกมากๆ 600-1000 ยูโร หรือประมาณ 20000 – 38000 บาท ประเทศส่วนใหญ่ต้องการให้คุณแสดงว่าคุณมีเงินเพียงพอสำหรับค่าครองชีพในขณะที่คุณกำลังศึกษา ที่สำคัญที่สุดค่าใช้จ่ายที่ระบุไม่ได้รวมการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มเติม เช่น บางประเทศให้เงินช่วยเหลือค่าที่พักอาจจะสูงถึง 20-60% เช่น ฝรั่งเศส หรือส่วนลดอื่นๆ เช่นค่าตั๋วรายปีในการเดินทาง ส่วนลดการทำกิจกรรมต่างๆ เข้าพิพิธภัณฑ์ เทศกาล กิจกรรมทางวัฒนธรรมอื่นๆ
6. คุณภาพการศึกษาในยุโรปเป็นอย่างไรบ้าง
ยุโรปขึ้นชื่อว่าเป็นต้นกำหนดสรรพวิยาการ ศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงแนวคิดที่มีอิทธิพลในโลกยุคปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ดังนั้นการศึกษาต่อในยุโรปก็เหมือนการได้เรียนรู้จากต้นกำเนิดความรู้โดยตรง และปัจจัยชี้วัดที่สำคัญคุณภาพการศึกษา ไม่ใช่ดูแค่ Ranking จากเว็บไซต์ต่างๆ แต่ต้องดูผลงานวิจัยในสาขาต่างๆ ที่ส่งเสริมสังคม สถาบันวิจัย(แลป) หรือนักวิจัยที่มีชื่อเสียง บริษัทหรืออุตสาหกรรมที่มีศักยภาพของประเทศนั้น และข้อมูลที่ง่ายที่สุดที่อาจใช้ประกอบการตัดสินได้คือจำนวนผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาต่างๆ ทั้งการแพทย์ เคมี ฟิสิกส์ เศรษฐศาสตร์ หรือแม้กระทั่งวรรณกรรม
7. เรียนต่อยุโรป ได้เที่ยวจริงหรือ
จริง จะเห็นจากรุ่นพี่ หรือเพื่อนๆ เราหลายคนที่เคยไปประเทศยุโรปมา จะเห็นว่าเขามีโอกาสได้ท่องเที่ยวทั้งนั้น อันดับแรกนั่นเพราะว่าค่าเดินทางไม่ได้แพงอย่างที่คิด โดยเฉพาะถ้าเรามีสถานะเป็นนักศึกษาต่างชาติ มักจะได้ราคาตั๋วเดินทางในราคาที่ถูกกว่าปกติ 30-70% และถ้าวางแผนการเดินทาง จองล่วงหน้า ในช่วงโปรโมชั่น
ยิ่งได้ราคาที่ถูกลงไปอีกมาก นี่ยังไม่นับระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพ เช่นการที่มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อไปยังประเทศต่างๆ อย่างไม่มีรอยต่อ และการที่มีวีซ่าเชนเก้นส์ที่ทำให้เดินทางข้ามประเทศเหมือนดั่งข้ามไปต่างจังหวัด(ไมมีการทำเอกสารใดๆ ที่พรมแดน) ทำให้เราเดินทางทั้งทางเครื่องบิน ทางรถ ทางรถไฟ
ไปทั่วยุโรปอย่างสะดวกสบาย
8. เรียนจบยุโรปแล้ว สามารถอยู่ทำงานต่อได้หรือไม่
นโยบายของหลายๆ ประเทศใน EU และ UK ตอนนี้เริ่มอนุญาตให้นักศึกษาต่างชาติอยู่ต่อหลังเรียนจบเพื่อหางาน ยกตัวอย่างเช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส ที่อนุญาตให้อยู่ต่อได้สูงสุด 1 ปี เพื่อหางานโดยเฉพาะ หรือถ้ายังไม่อยู่ต่อสามารถกลับมาประเทศไทยก่อน เพื่อขอวีซ่าไปหางานในภายหลังได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลายประเทศเริ่มสนับสนุนธุรกิจ Start-up โดยออกนโยบายช่วยเหลือ มีหน่วยงานบ่มเพาะธุรกิจช่วยเหลือธุรกิจเกิดใหม่ (Incubator) ที่ทำให้หลายคนมีโอกาสสร้างชีวิตการทำงานในประเทศยุโรป
9. จะเริ่มหาหลักสูตร สถาบัน และเลือกประเทศอย่างไรดี
ประเทศในยุโรปมีนโยดึงดูดนักศึกษาต่างชาติจากทั่วโลก ดังนั้นจะมีหน่วยงานที่มีหน้าที่ประชาสัมพันธ์แนะแนวประจำเทศนั้นๆ เช่น ฝรั่งเศสมี Campus France เยอรมนีมี DAAD เนเธอร์แลนด์มี Nuffic ไอร์แลนด์ Entreprise Ireland เป็นต้น ซึ่งมักจะมีข้อมูลเกี่ยวกับระบบการศึกษา การสมัครเรียน การเตรียมตัวก่อนเดินทาง และฐานข้อมูลหลักสูตรออนไลน์ให้เราเข้าไปเลือกได้อย่างอิสระ แต่ถ้าใครเริ่มต้น ยังไม่มีแผนที่ชัดเจน เราแนะนำให้หาที่ปรึกษา (Consultant) หรือเอเยนซีให้ช่วยแนะนำหลักสูตรที่น่าสนใจ สถาบันและประเทศที่เหมาะกับโปรไฟล์ผู้สมัคร และแน่นอน นี่คือภารกิจหลักของ PWK ที่จะช่วยให้คุณได้พบกับหลักสูตรในฝัน
10. ใช้บริการเอเยนซีเรียนต่อยุโรป ดีจริงหรือ
เรามักจะพบคำถามประเภทว่า “สมัครเองกับสถาบันหรือสมัครผ่านเอเยนซีดีกว่ากัน” หรือ “เอเยนซีให้บริการอะไรบ้าง มีค่าบริการหรือเปล่า” ต้องบอกอย่างนี้ว่า สำหรับการเรียนต่อยุโรปแล้ว ผู้สมัครมีอิสระในการสมัคร 100% ตั้งแต่การหาข้อมูลประเทศต่างๆ และตัดสินใจเลือกหลักสูตรและสถาบัน โดยผ่านเว็บไซต์ทางการของแต่ละประเทศ สำหรับมือใหม่ ผู้เริ่มต้น สามารถขอคำแนะนำจากเอเยนซีผู้บริการให้คำปรึกษา ซึ่งบทบาทไม่ใช่แค่การรับสมัครเรียน ยังสามารถแนะนำประเทศ สถาบัน หลักสูตรที่เหมาะกับผู้เรียนได้อีกด้วย ส่วนจะมีค่าบริการหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับหลักสูตรที่เลือก เช่น การเลือกเรียนหลักสูตรในมหาวิทยาลัยรัฐบาล เอเยนซีมักจะคิดค่าบริการให้คำปรึกษาเพราะว่าสถาบันที่เลือกไม่ได้ให้ค่าตอบแทนใดๆ กับทางเอเยนซี่ ซึ่งค่าบริการตรงนี้มักจะรวมการให้คำปรึกษาการเลือกหลักสูตร วิธีการสมัคร ช่วยตรวจและแนะนำเอกสารการสมัคร SOP, CV การขอวีซ่า รวมถึงการเตรียมตัวก่อนเดินทาง
ในขณะเดียวกันบางสถาบันจะให้ค่าตอบแทนกับเอเยนซีทุกครั้งที่มีผู้สมัคร กรณีเช่นนั้นทางเอเยนซีมักจะไม่คิดค่าบริการ แต่แน่นอนว่าหากมีบริการพิเศษเกิดขึ้น เช่น บริการตรวจแก้เอกสารสมัครเรียน บริการเขียนจดหมายอื่นๆ ประกอบการสมัคร มักคิดเป็นค่าบริการเพิ่มเติมเสมอ (ไม่มีใครทำงานให้เราฟรีๆ หรอกใช่ไหม)
การเลือกเอเยนซีหรือผู้บริการให้คำปรึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในแผนการศึกษาและแผนอาชีพในอนาคตของผู้สมัครต้องเป็นผู้ให้บริการที่ซื่อสัตย์ เป็นกลาง ไม่ให้ข้อมูลที่สนับสนุนสถาบันใดสถาบันหนึ่งไม่ผลักดันการตัดสินใจผู้สมัคร
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยอื่นๆ สามารถปรึกษาเราได้ฟรี ถ้ามีประเด็นไหนน่าสนจเพิ่มเติมเราจะนำมารวบรวมไว้ในบทความนี้ต่อไป