การจัดรูปแบบ Statement of Purpose – การเขียน Statement of Purpose หัวใจสำคัญคือเนื้อหาและตอบโจทย์สิ่งที่สถาบันต้องการ การจัดรูปแบบ(Format) ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ควรคำนึงถึงเพราะการจัดรูปแบบที่ดีส่งผลต่อความน่าอ่าน (Readability) ช่วยให้ผู้อ่านมีสมาธิและช่วยส่งเสริมความเข้าใจของผู้อ่าน ในบทความนี้เราจะมาพูดคุยประเด็นรูปแบบมาตรฐานของ SOP สมัครเรียนต่อ การจัดรูปแบบสำหรับ SOP ทั่วไป(paper) ว่าควรเป็นเช่นไร
การจัดรูปแบบ Statement of Purpose ไม่มีข้อกำหนดตายตัว
SOP ไม่มีการจัดรูปแบบ (format) ที่ตายตัว มักมีความแตกต่างไปตามเงื่อนไขและข้อแนะนำของสถาบันที่เราสมัครเรียนต่อ มักจะระบุไว้ใน SOP Guideline ที่มักจะกำหนดความยาวที่เหมาะสม (จำนวนคำ จำนวนตัวอักษร) ระยะห่างระหว่างบรรทัด ตัวหนังสือฟอนต์ (font) และขนาดที่เหมาะสม อย่าลืมอ่านไกด์ไลน์ก่อนเริ่มทำ SOP
รูปแบบมาตรฐาน (Standard format) ของ SOP คือ….
หลักการจัดรูปแบบของ Statement of Purpose โดยทั่วไป คือ “ยึดความน่าอ่านและอ่านง่าย” คำนึงถึงผู้อ่านเสมอ พอจะสรุปเป็นหลักคร่าวๆ คือ
1. ความยาวของ Statement of Purpose
โดยปกติมักจะกำหนดความยาวไว้ ตั้งแต่ 500 – 1500 คำ (3000 – 8000 characters without space หรือ 1.5-3 หน้า) ขึ้นอยู่กับหลักสูตรและสถาบันที่สมัคร โดยเฉลี่ยจากสำหรับสมัครเรียนต่อป.ตรีในสถาบัน “ทั่วโลก” จะพบเห็น SOP 500-700 คำบ่อยที่สุด (1.5-2หน้า) ส่วนสมัครปริญญาโท จะเจอ 600-800 คำ มากที่สุด และ 900-1400 คำรองลงมา และ SOP ปริญญาเอกก็มีหลากหลาย ตั้งแต่ 600-2000 คำ แต่ในกรณีป.เอก สถาบันมักจะให้น้ำหนักไปที่ Thesis Proposal หรือ Research Plan มากกว่า
2. การจัดหน้ากระดาษ SOP
แน่นอนขนาดกระดาษมาตรฐาน A4 (8.27 x 11.69 inch) ตั้งหน้ากระดาษแนวตั้ง (Portrait) อย่าอินดี้ทำ SOP ใส่ขนาดอื่นหรือวางกระดาษแนวนอนเชียว และควร “เว้นระยะห่างจากขอบกระดาษ” ประมาณ 1 นิ้วของทุกด้านเพื่อความสวยงาม เรียบร้อย และดึงโฟกัสสายตาผู้อ่าน
3. ตัวหนังสือและขนาด (Font) สำหรับ SOP
รูปแบบตัวหนังสือหรือฟอนต์ที่แนะนำ คือ Times New Roman, Calibri, Cordia, Arial, Helvetica หรือฟอนต์มาตรฐานอื่นๆ ที่นิยมใช้ในเอกสารราชการ(ทางการ) เนื่องจากอ่านง่าย สบายตา รูปแบบตัวหนังสือตรงตามหลักอักขระภาษาอังกฤษในปัจจุบันที่สุด ส่วนขนาดก็แนะนำ 12pts สำหรับ Times New Roman ถ้าเปลี่ยนเป็นฟอนต์อื่นก็ลองปรับขนาดให้เท่ากัน *ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ข้อบังคับ แต่เป็นข้อควรปฏิบัติโดยคำนึงหลัก “อ่านง่าย” สำหรับผู้อ่าน และอย่าคิดใช้เทคนิคบีบขนาดฟอนต์เพื่อประหยัดเนื้อที่เป็นอันขาดเพราะเป็นการทำร้ายผู้อ่านทางอ้อม (นึกภาพอาจารย์ที่มีอายุกำลังนั่งอ่านตัวหนังสือที่เล็กกว่าตัวมด…)
4. การระยะห่างระหว่างบรรทัดของ SOP
การทำ SOP ส่วนใหญ่จะแนะนำการเว้นระยะห่างระหว่างบรรทัดอยู่ที่ 1.5- 2.0 line spacing (1.5 to double space) ก็ด้วยหลักการ “น่าอ่านและอ่านง่าย” นั่นแหละ บางคนคิดแก้ปัญหา SOP ที่กำหนดความยาวไว้จำกัด โดยการบีบระยะห่างระหว่างบรรทัดให้เหลือน้อยที่สุด ผิดมหันต์! ระวังคนอ่านหงุดหงิดเอานะ
5. การจัดพารากราฟ (Paragraphing)
การจัดพารากราฟสำหรับ SOP ระยะย่อหน้า ไม่ใช่ประเด็น แต่ความสำคัญอยู่ที่ประเด็นที่นำเสนอในแต่ละพารากราฟต้องชัดเจน มีระบบ เป็นระเบียบ ไม่ยาวเกินไป(จนติดกันเป็นพรืด) ภายในพารากราฟเองก็ต้องเรียงประโยคให้สวยงาม เว้นวรรคระหว่างคำ ระหว่างประโยคให้เหมาะสม
หวังว่าคุณได้รู้เรียนรู้ การจัดรูปแบบ Statement of Purpose (รูปแบบมาตรฐานของ SOP) สำหรับสมัครเรียนต่อจากบทความนี้แล้ว สรุปให้อีกทีก็คือต้องจัดรูปแบบโดยยึดหลักการ “ความน่าอ่านและอ่านง่าย” และคำนึงถึงผู้อ่านเสมอ อย่างไรก็ตาม การจัดรูปแบบก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งในการทำ SOP เท่านั้น หัวใจสำคัญคือต้องโฟกัสที่ เนื้อหาและองค์ประกอบ ว่านำเสนอตัวผู้สมัครออกมาได้ดีเพียงใด และทำความเข้าใจโจทย์และหัวข้อที่สถาบันกำหนด อย่าลืมดูข้อแนะนำ (SOP Guideline) ที่มหาวิทยาลัยที่เราสมัครแนะนำไว้ด้วย
เรียบเรียงโดย PWK Translation – All Rights Reserved
ถ้าใครอยากปรึกษาเรื่องการเขียน SOP Statement of Purpose และ Admission Essay ประเภทอื่นๆ (Study Plan, Motivation letter, Personal Statement) สมัครเรียนต่อต่างประเทศ ปรึกษาเราได้นะ ยินดีให้คำปรึกษาฟรี!
SOP, Personal Statement, Study Plan, Motivation Letter สมัครเรียนต่อในและต่างประเทศ
ฝากติดตาม Facebook เราหน่อย https://www.facebook.com/pwktranslation/
Leave a Reply