Motivation letter คืออะไร หรือบ้างเรียก Letter of Motivation ในการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ หรือสมัครงานบางองค์กร
Letter of Motivation หรือ Motivation letter คือจดหมายปะหน้า(Cover letter) หรือจดหมายแนะนำตัวประเภทหนึ่งที่แนบมาพร้อมกับเอกสารอื่นเช่นประวัติหรือประวัติผลงาน วุฒิการศึกษา วัตถุประสงค์หลักของ Motivation letter หรือจดหมายสมัครเรียน จดหมายสมัครงาน คือการโน้มน้าวให้คณะกรรมการคัดเลือก(Admissions Committee) หรือฝ่ายบุคคล HR ให้เห็นว่าคุณเป็นผู้สมัครที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตำแหน่งหรือหลักสูตรและสถาบันที่กำหนด ย้ำอีกครั้ง Motivation letter คือจดหมายที่อาจใช้ทั้งในการสมัครงานและสมัครเรียน
ความแตกต่างระหว่าง Letter of Motivation กับจดหมาย Cover letter ทั่วไป?
Motivation letter มักใช้เมื่อสมัครขอรับอะไรบางอย่างที่ไม่ใช่เชิงการค้าและพาณิชย์เช่น สำหรับการรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ทุนการศึกษา โครงการแลกเปลี่ยน หรือถ้าเป็นตำแหน่งงาน ส่วนมากก็จะเป็นตำแหน่งในองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร หรืองานอาสาสมัคร ฯลฯ
ในการสมัครเรียนต่อต่างประเทศ Motivation letter หมายถึง “จดหมายสมัครเรียน” นั่นเอง โดยแนวคิดหลักก็คล้ายๆ Statement of Purpose(SOP) หรือ Personal Statement ในจดหมาย Motivation letter คุณต้องอธิบายว่าเหตุใดคุณจึงมีความสนใจ มีเหตุจูงใจ หรือเหตุผลเฉพาะที่คุณต้องการเรียนหรือเข้าร่วมหลักสูตรและมหาวิทยาลัยนั้น
ในการสมัครงาน Motivation letter ก็คือ “จดหมายสมัครงาน” หรือที่เรียกกันติดปากว่า Cover letter นั่นเอง คุณต้องส่งทั้งจดหมายและประวัติส่วน CV/Resume ของคุณ ในจดหมายสมัครงานคุณต้องระบุตำแหน่งที่คุณต้องการอย่างชัดเจนและอธิบายว่าเหตุใดโปรไฟล์ของคุณจึงตรงกับตำแหน่ง และทั้งหมดเพื่อต้องตอบคำถามว่า ” ทำไมควรเลือกคุณ? ”
อย่างไรก็ตามคุณต้องระลึกไว้เสมอว่าไม่ว่าจะเป็น Motivation letter หรือ Cover letter ประภทใด ก็ควรเน้นทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องให้สัมพันธ์กับตำแหน่ง หลักสูตรที่สถาบันหรือองค์กรต้องการ และปล่อยให้ประวัติส่วนตัวที่คุณแนบมาด้วยทำหน้าที่บอกรายละเอียดในส่วนที่จดหมายของเราไม่สามารถอธิบายได้หมด ตระหนักเสมอว่าจุดประสงค์หลักคือการขอสัมภาษณ์ และอย่าลืมบอกช่องทางที่สามารถติดต่อคุณได้ (โทรศัพท์ อีเมล โซเชียลมีเดีย ฯลฯ)
ในเรื่องของการจัดรูปแบบ Letter of Motivation กับจดหมาย Cover letter ก็มีความแตกต่างกันเล็กน้อย ในปัจจุบันทั้งสองคำแทบจะเป็นคำเดียวกันอยู่แล้ว ซึ่งบางสถาบันหรือองค์กรก็ไม่ได้เข้มงวดอะไร แต่ก็มีบางที่ ที่เราต้องระวัง
ในการสมัครเรียนต่อหรือการสมัครทุนการศึกษา จากการสำรวจของทีมงาน PWK พบว่าสถาบันที่มักจะร้องขอ Motivation letter หรือ Letter of Motivation ในเงื่อนไขการรับสมัคร มักอยู่ในฝั่งของยุโรป อาทิ สถาบันในฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอแลนด์ ฯลฯ ซึ่งอย่างที่บอกไว้ข้างต้นคือ แนวคิดหลักคล้ายๆ SOP แต่ก็มีความแตกต่างในเรื่องรูปแบบและเนื้อหาอยู่บ้าง ความยาวกำหนดไว้ชัดเจนว่า ไม่ควรเกิน 1 หน้ากระดาษ หรือมากสุดไม่ควรเกิน 2 หน้าสำหรับบางหลักสูตรและสถาบัน ดังนั้นเราควรกระชับและตรงประเด็นที่สุด และที่สำคัญ อย่าย้ำสิ่งที่มีอยู่แล้วใน CV/Resume ของตนเอง
ส่วนในการสมัครงาน องค์กรประเภท NGOs องค์การระหว่างประเทศ สถานทูตฯ ต่างๆ มักจะใช้คำว่า Motivation letter ให้ประกาศรับสมัครงาน แทนคำว่า Cover letter
ที่เราน่าจะเห็นแนวคิดคร่าวๆ ว่า Motivation letter คืออะไร แล้ว
มาลองดู ตัวอย่าง Motivation letter จดหมายปะหน้า จดหมายสมัครเรียน จดหมายสมัครงาน จากข้างล่างนี้หน่อยแล้วกัน
ขอย้ำก่อนว่าตัวฟอร์มหรือรูปแบบพอใช้เป็น reference ได้ แต่เนื้อหาห้ามลอกนะครับ เพราะรูปแบบที่เผยแพร่บนอินเทอร์เนตไม่ได้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบและสอดคล้องกัับตำแหน่งงานและหลักสูตรที่คุณสมัครแน่นอน
[…] แนวคิดใกล้เคียงกับ Statement of Purpose/ Personal Statement แต่ก็มีความแตกต่าง* […]