ควรเขียนอะไรใน LOR องค์ประกอบ จดหมายแนะนำ Letter of Recommendation/ Reference
ควรเขียนอะไรใน LOR – ไม่ว่าในการสมัครเรียนต่อหรือสมัครงาน เอกสารหนึ่งที่่เราควรเตรียมพร้อมเอาไว้คือ Letter of Recommendation หรือ Reference (จดหมายแนะนำ จดหมายรับรอง LOR) ในตอนที่แล้วเราได้แนะนำเบื้องต้นไปแล้วว่า LOR คืออะไร
แบบย่อๆ อีกครั้ง จดหมายแนะนำหรือจดหมายรับรอง คือการเขียนจดหมายโดยบุคคลที่ 3 โดยเขียนนำเสนอคุณสมบัติ ลักษณะบุคคลิก นิสัย ความตั้งใจ ผลงาน หรือจุดเด่นตัวผู้สมัคร (สมัครงานหรือสมัครเรียน) ให้เหมาะกับตำแหน่งงานหรือหลักสูตรที่สมัครเรียน
ในตอนนี้เราจะมาเริ่มลงรายละเอียดถึงเรื่อง องค์ประกอบของจดหมาย LOR ว่าควรเขียนอะไร ควรมีเนื้อหาแบบไหน
องค์ประกอบสำคัญของ LOR
1.เริ่มเรื่องด้วย ข้อมูลผู้เขียน
แน่นอนว่าคณะกรรมการการคัดเลือกหรือฝ่ายบุคคลต้องการทราบข้อมูลผู้เขียนจดหมาย อันได้แก่ ชื่อ-สกุล ตำแหน่งงาน หน่วยงาน บริษัทหรือองค์กรความสัมพันธ์ของผู้เขียนจดหมายกับตัวผู้สมัคร ที่ติดต่อ(เบอร์โทร อีเมล หรือที่อยู่) ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อถืออีกด้วย เพราะฉะนั้นเนื้อหาจดหมาย ควรมีการเกริ่นสั้นๆ ว่าผู้เขียนรู้จักกับตัวผู้สมัครได้อย่างไร เช่น เคยร่วมงานกันในโครงการอะไร เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาอะไร หรือเคยเป็นที่ปรึกษาในโปรเจคต่างๆ
2. เข้าประเด็น เขียนเกี่ยวกับผู้สมัครทันที!
ปกติจดหมาย LOR มักจะทำความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ (ยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ มีอะไรกล่าวมากมายจริงๆ) ดังนั้นผู้เขียนไม่จำเป็นต้องอ้อมจักรวาล เพื่อกล่าวถึงสิ่งอื่นใด ควรเริ่มเขียนถึง คุณสมบัติ ลักษณะบุคคลิก นิสัย ความตั้งใจ ผลงาน หรือจุดเด่นตัวผู้สมัครได้เลย วิธีการเขียนก็มีหลายวิธี บ้างก็ยกตัวอย่างถึงโครงการ โปรเจคต่างๆ หรืออาจารย์อาจจะยกประเด็นความตตั้งใจเรียนและการมีความคิด ตรงนี้อาจจะแบ่งประเด็นต่างๆ เป็นพารากราฟเพื่อความชัดเจน อันนี้แล้วแต่เทคนิค วิธีการ สไตล์การเขียนของแต่ละท่าน
*เข้าใจว่าบางคนมีความสามารถที่หลากหลาย โปรไฟล์เลิศ แต่ในความยาวที่จำกัด ผู้เขียนควรยกจุดแข็งที่สุด เน้นให้เหมาะสมกับตำแหน่งงานหรือหลักสูตรที่สมัครเรียน 1-3 ข้อ ก็เพียงพอ
3. ลงท้ายด้วยการให้ข้อมูลที่ติดต่อที่ชัดเจน และใส่ประโยคปิดอย่างสุภาพ
อย่าตกม้าตายตอนท้าย เขียนพรรณามาทั้งหมด แต่ลืมใส่ข้อมูลที่ติดต่อ กรรมการถึงขั้นร้อง อ้าว! มีโอกาสสูงที่บริษัทหรือเจ้าหน้าที่ติดต่อผู้เขียนจดหมายเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครอีกครั้ง เพราะฉะนั้นอย่าลืมทิ้งอีเมลหรือเบอร์โทรศัพท์ไว้ในส่วนท้าย หลังจากที่พูดถึงตัวผู้สมัคร
ประโยคปิด อย่าลืมเน้นย้ำถึงความเหมาะสมของผู้สมัครต่อตำแหน่งงานหรือหลักสูตร หรือกล่าวสรุปสั้นๆ สัก 1-2 ประโยคเพื่อรวบประเด็นและทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น
ทั้งหมดอย่าลืมความคูล ใช้ภาษาแบบสุภาพๆ ผู้ดีๆ แสดงความพร้อมในการให้ข้อมูลเพิ่มเติม อย่างเต็มใจ
4. อย่าลืมเรื่องรูปแบบจดหมาย (Format)
พยายามจัดรูปแบบให้อยู่ในมาตรฐานสากล มีหัวกระดาษ มีชื่อผู้ติดต่อพร้อมตำแหน่งและหน่วยงาน(ฝ่ายบุคคล หรือ หัวหน้าหลักสูตร ฯลฯ) มีคำขึ้นต้น Attention ชัดเจน ควรใส่วันที่เขียนจดหมายและสถานที่เอาไว้ด้วย และมีลงท้ายกระดาษ ปิดด้วยคำลงท้ายจดหมายแบบสุภาพ Yours sincerely / Yours faithfully etc. ก็แล้วแต่สถานการณ์และผู้รับ อย่าลืมลงชื่อจดหมาย(ลายเซ็นต์) พร้อมทิ้งข้อมูลติดต่อไว้ให้ชัดเจน แบบฟอร์มจดหมาย LOR สากลอาจจะไม่ตายตัวสักเท่าใดนัก เอาเป็นว่าเน้นองค์ประกอบให้ครบ จัดวางให้สวยงาม อ่านง่าย
*อย่าลืมตรวจสอบขนาดและประเภทตัวหนังสือ (ฟ้อนต์) เพื่อให้งานเขียนของเราน่าอ่าน กรรมการไม่ปวดหัว – -*
ดูตัวอย่าง LOR Letter of Recommendation / Reference สมัครงาน สมัครเรียนที่นี่
หากต้องการมืออาชีพช่วยเหลือท่านในการ เเขียน ตรวจแก้จดหมาย LOR/Reference สมัครงาน สมัครเรียนต่อ ฯลฯ ติดต่อเรา
LOR Recommendation – Reference letter สมัครเรียนต่อ
LOR Recommendation – Reference letter สมัครงาน ฝึกงาน
รวบรวมเนื้อหาโดย
PWK Translation (Please follow our Facebook Page)
Leave a Reply